วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

พยัญชนะไทยมีทั้งหมด 44 รูป 21 เสียง


เสียงพยัญชนะ
พยัญชนะเสียงสูง : ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
พยัญชนะเสียงกลาง : ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
พยัญชนะเสียงต่ำ : ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ







ไตรยางศ์
คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรยฺ ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่าว่า สามส่วน การจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์
ไตรยางศ์มีการจัดหมวดหมู่เพื่อแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

พยัญชนะเสียงสูง
มี 11 ตัว เเละผันได้ เสียงที่ ๕, ๒ เเละ ๓
อักษรสูง หมายถึง พยัญชนะที่ยังไม่ได้ผันวรรณยุกต์ แล้วมีเสียงอยู่ในระดับสูง มีทั้งหมด 11 ตัว วิธีท่องจำง่าย ๆ ผ ฝ ถ ฐ ข ฃ ศ ษ ส ห ฉ ผี ฝาก ถุง ขาว สาร ให้ ฉัน

พยัญชนะเสียงกลาง
มี 24 ตัว เเละผันได้ทั้งหมดห้าเสียง
อักษรกลาง หมายถึง พยัญชนะที่ยังไม่ได้ผันวรรณยุกต์ แล้วมีเสียงอยู่ในระดับกลาง มีทั้งหมด 9 ตัว วิธีท่องจำง่าย ๆ ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ ไก่ จิก เด็ก ตาย เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง การผันวรรณยุกต์กับอักษรกลาง ผันได้ครบ 5 เสียง ใช้วรรณยุกต์ได้ 4 รูป

พยัญชนะเสียงต่ำ
มี 9 ตัว เเละผันได้ เสียงที่ ๑, ๓ เเละ ๔ อักษรต่ำ หมายถึง พยัญชนะที่ยังไม่ได้ผันวรรณยุกต์ แล้วมีเสียงอยู่ในระดับต่ำ มีทั้งหมด 24 ตัว
  • ต่ำคู่ มีเสียงคู่อักษรสูง 14 ตัว
พ ภ ฟ ฑ ฒ ท ธ ค ต ฆ ซ ฮ ช ฌ
  • ต่ำเดี่ยว(ไร้คู่) 10 ตัว วิธีท่องจำง่าย ๆ
ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล งู ใหญ่ นอน อยู่ ณ ริม วัด โม ฬี โลก

หน้าที่ของพยัญชนะ

ทำหน้าที่ เป็นพยัญชนะต้นกา
เป็น สัตว์ ใกล้สูญพันธ์ ก ป ส กล ส พ เป็นพยัญชนะต้น

ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์'(ตัวสะกด)
เกิด เป็น ชาย หมาย รัก นี้ หนัก อก
พยัญชนะที่ขีดเส้นใต้เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์หรือท้ายคำ เรียกว่าตัวสะกด
พยัญชนะตัวสะกด
พยัญชนะตัวสะกด มีทั้งสิ้น 39 ตัวเท่านั้น ที่สามารถใช้เป็นตัวสะกดได้ โดยแบ่งเป็น ๘ เสียงเรียกว่ามาตราตัวสะกด ๘ มาตราดังนี้
  • แม่กก ออกเสียงสะกด ก ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ก ข ค ฆ เป็นตัวสะกด
เช่น นก เลข โรค เมฆ
  • แม่กด ออกเสียงสะกด ด ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ด ต ถ ท ธ ฎ ฏ ฐ ฒ จ ช ซ ศ ษ ส เป็นตัวสะกด เช่น
เปิด จิต รถ บาท โกรธ กฎ ปรากฏ เท็จ บงกช ก๊าซ อากาศ พิเศษ โอกาส อิฐ
  • แม่กบ ออกเสียงสะกด บ ซึ่งจะใช้พยัญชนะ บ ป พ ภ ฟ เป็นตัวสะกด เช่น ดาบ บาป ภาพ กราฟ โลภ
  • แม่กน ออกเสียงสะกด น ซึ่งจะใช้พยัญชนะ น ร ญ ล ฬ เป็นตัวสะกด
เช่น แขน คูณ บุญ อาหาร กล ปลาวาฬ
  • แม่กง ออกเสียงสะกด ง ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ง เป็นตัวสะกด
เช่น จริง วิ่ง ลิง สิงห์ พิง มุ่ง สั่ง
  • แม่กม ออกเสียงสะกด ม ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ม เป็นตัวสะกด
เช่น นม ดม ลม พรม สม ชิม แยม
  • แม่เกย ออกเสียงสะกด ย ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ย เป็นตัวสะกด
เช่น ยาย เนย เคย เลย คุย
  • แม่เกอว ออกเสียงสะกด ว ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ว เป็นตัวสะกด
เช่น สิว หิว วัว

ทำหน้าที่เป็นอักษรควบ
พยัญชนะควบกล้ำ
นอกจากเสียงนั้นยังมีพยัญชนะควบกล้ำ พยัญชนะกล้ำคือพยัญชนะ 2 ตัวประสมสระเดียวกันมี ร ล ว แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
  • ควบกล้ำแท้ เป็นพยัญชนะควบกล้ำที่ออกเสียงพร้อมกันทั้ง 2 ตัว เช่น
ควบด้วย ร กรอบ กราบ เกรง ครอบครัว ควบด้วย ล กล้วย กลีบ ไกล แปลง ควบด้วย ว ไกว แกว่ง ควาย ขว้าง
  • ควบกล้ำไม่แท้ เป็นพยัญชนะที่เขียนเหมือนควบกล้ำแท้ ร แต่ออกเสียงเพียงตัวเดียว เช่น
จริง สร้าง สระ เศร้า แสร้ง ศรี อ่านว่า (จิง) (ส้าง) (สะ) (เส้า) (แส้ง) (สี) ตัวอย่างคำอักษรควบแท้และไม่แท้
กราดเกรี้ยวเกลียวคลื่นคล้าย
ปลุกปลอบควายคลายโกรธเกรี้ยว
ตรวจตรากล้าจริงเพรียว
ขวักไขว่คว่ำกล้ำกลบคลอง
ทรายเศร้าเคล้าคลึงศรี
ทราบโทรมตรีปลีกล้วยพร่อง
ครึ้มครึกตริตรึกตรอง
เปล่าพลิกกลองแปรเปลี่ยนแปลง
ทำหน้าที่เป็นอักษรนำ-อักษรตาม
อักษรนำ คือ พยัญชนะ 2 ตัวเรียงกัน ประสมสระเดียว พยัญชนะตัวแรกของคำ แบ่งตามลักษณะการอ่านได้ 2 ชนิด คือ
  • อ่านออกเสียงร่วมกันสนิทเป็นพยางค์เดียวกัน เมื่อมีตัว ห และ ตัว อ เป็นอักษรนำ ตัวอย่างเช่น
เมื่อมีตัว ห เป็นอักษรนำ เช่น หรู หรา หญิง เหลือ หลาย เหลว ไหล หรู หรา –หรูหรา - ห อักษรสูง นำ ร อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห หญิง หญ้า ใหญ่ -หยิง- ห อักษรสูง นำ ญ อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห
  • เมื่อมีตัว อ เป็นอักษรนำ ย มี 4 คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก
อย่า อยู่ อย่าง อยาก -หย่า หยู่ หย่าง หยาก-อ อักษรกลาง นำ ย อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม อ
  • อ่านออกเสียงเป็น 2 พยางค์ โดยพยางค์แรกอ่านออกเสียงเหมือนมีสระ อะ ประสมอยู่กึ่งเสียง ส่วนพยางค์หลังอ่านตามสระที่ประสมอยู่ และอ่านออกเสียงวรรณยุกต์ตามพยัญชนะตัวแรก เช่น
ขยับ ขะ-หยับ ข อักษรสูง นำ ย อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห
ฉลาม ฉะ-หลาม ฉ อักษรสูง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห
ตลาด ตะ-หลาด ต อักษรกลาง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ต
สนาม สะ-หนาม ส อักษรสูง นำ น อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ส
ผลิต ผะ-หลิต ผ อักษรสูง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ผ
ตัวอย่างคำอักษรนำ-อักษรตาม
ขยะขยาดตลาดเสนอ.........ฉลาดเสมอเฉลิมไฉน
สนิมสนองฉลองไสว..........เถลไถลหวาดหวั่นแสวง
อย่าอยู่อย่างอยากเผยอ..........ตลิ่งตลบเสนอถลอกแถลง
จมูกถนัดขยะแขยง...............สวะสวิงหน่ายแหนงขยับขยาย
หรูหราหรุบหรับ(สา)หร่าย... สลับสลายเสนาะสนุกสนาน
สลิดเสลดสลัดสมาน .. หหวังหลอกเหลนหลานหลากหลาย

ทำหน้าที่เป็นเป็นสระ (อ ว ย ร)
เช่น สรรค์ รร ทำหน้าที่แทนวิสรรชนีย์ หรือสระอะ กวน ว เป็นสระอัวลดรูป เสีย ย เป็นส่วนประกอบของสระเอีย ขอ เสือ มือ อ เป็นสระ และเป็นส่วนหนึ่งของสระ

ทำหน้าที่เป็นตัวการันต์
เช่น จันทร์ ทร์ เป็นตัวการันต์ ลักษณ์ ษณ์ เป็นตัวการันต์ ศิลป์ ป์ เป็นตัวการันต์


พยัญชนะไทยที่พึงสังเกตและควรจดจำ
อักษร ฃ นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของพยัญชนะ ฃ และสันนิษฐานว่า ฃ นั้นเดิมมีฐานเสียงที่แตกต่างจากฐานเสียงของ ข โดยมีลักษณะเสียงเป็น พยัญชนะลิ้นไก่อโฆษะ ซึ่งพบได้ในภาษาต่างๆ ในกลุ่มภาษาไท และภาษาอื่น ทว่าในภายหลังหน่วยเสียงนี้ค่อยๆ สูญหายไป โดยออกเสียง ข แทนเป็นที่น่าสังเกตว่า ฃ มีใช้ในตำแหน่งที่เป็นพยัญชนะต้น ไม่ปรากฏในตำแหน่งตัวสะกดเลย นอกจากนี้ยังมีข้อที่น่าสังเกตว่าคำว่า "ขวด" ซึ่งเป็นชื่อของพยัญชนะตัวนี้ ก็ไม่เคยเขียนด้วย ฃ (นั่นคือ ฃวด) มาก่อนเลย สาเหตุที่ทำให้เลิกใช้ ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) นั้น คงเนื่องมาจากพิมพ์ดีดภาษาไทยในสมัยแรก ๆ นั่นเองที่แป้นอักษรไม่มี ฃ และ ฅ เนื่องจากก้านอักษรมีไม่พอกับจำนวนสระพยัญชนะและวรรณยุกต์ในภาษาไทย จึงต้องตัดคำบางคำหรือเครื่องหมายตัวออกไปบ้าง
อักษร ฅ เป็นอักษรที่เลิกใช้แล้ว ไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ฅ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่ยังมีการใช้ ฅ อยู่บ้างในบางแวดวง นัยว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว เท่าที่พบเห็น มักจะใช้ในคำว่า ฅน (คน)
อักษร ฑ ในคำไทย บางคำอ่านออกเสียงเป็น /ท/ อย่างคำว่า มณโฑ (มน-โท) บุณฑริก (บุน-ทะ-ริก) แต่บางครั้งออกเสียงเป็น /ด/ เช่น มณฑป (มน-ดบ) บัณฑิต (บัน-ดิด)
อักษร ณ เพียงตัวเดียวสามารถเป็นคำได้หนึ่งคำ ณ อ่านว่า นะ แปลว่า "ที่" เป็นคำบุพบท
อักษร บ เพียงตัวเดียวแล้วเติมไม้เอก โดยไม่มีสระ สามารถเป็นคำได้หนึ่งคำ คือ บ่ อ่านว่า บ่อ หรือ เบาะ แปลว่า "ไม่" เป็นคำพิเศษที่แสดงถึงความเป็นตรงกันข้าม
อักษร ร ที่เป็นพยัญชนะสะกดซึ่งตามหลังสระ ออ จะไม่ปรากฏตัวออ ให้ใช้ ร ต่อท้ายพยัญชนะต้นไปได้เลย เช่น กร (กอน) พร (พอน) ละคร (ละ-คอน) เป็นต้น คำไทยบางคำที่ยืมมาจากภาษาเขมรและภาษาสันสกฤต จะมี ร ซ้อนกันสองตัวเรียกว่า ร หัน (รร) เมื่อตามหลังพยัญชนะต้นจะออกเสียงคล้ายมีสระ อะ และสะกดด้วยแม่กนหรือพยัญชนะตัวถัดไป เช่น บรรพชา (บัน-พะ-ชา) สรรพ (สับ) ธรรมะ (ทัม-มะ) เป็นต้น
อักษร ว รูปสระ ตัววอ (ว) ยังสามารถใช้เป็น สระ อัว เมื่อมีพยัญชนะสะกด เช่น สวน และใช้ประสมสระ อัวะ และ อัว
อักษร ห จะไม่ถูกใช้เป็นพยัญชนะสะกด ถึงแม้เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี ห ก็จะไม่ออกเสียง แต่จะออกเสียงเป็นพยัญชนะตัวถัดไปแทน เช่น พราหมณ์ (พราม) พรัหมา (พรัม-มา) เป็นต้น ห สามารถใช้เป็นอักษรนำสำหรับพยัญชนะเหล่านี้ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ เพื่อให้สามารถผันวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียง
อักษร ฬ ปัจจุบัน ฬ ไม่มีที่ใช้เป็นพยัญชนะต้นของคำ
อักษร อ รูปสระ ตัวออ (อ) ยังสามารถใช้เป็นสระ ออ เมื่ออยู่หลังพยัญชนะต้น ใช้ถัดจากสระ อื เมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด เช่น ถือ และใช้ประสมสระ เอือะ เอือ เออะ และ เออ โดยทั่วไปเรามักจัดให้ อ เป็นเสียงนำสระ แต่ในทางภาษาศาสตร์ ถือว่า อ นั้น เป็นพยัญชนะปิดหรือหยุด
อักษร ฮ จะไม่ถูกใช้เป็นพยัญชนะสะกด




อ้างอิง : http://www.learners.in.th/blogs/posts/412511

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น